อัพเดทอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ บ้าน MRR MLR MOR

You are currently viewing อัพเดทอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ บ้าน MRR MLR MOR
อัพเดทอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ บ้าน MRR MLR MOR

อัพเดทอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ บ้าน MRR MLR MOR

สินเชื่อบ้าน MRR MLR MOR อัพเดทประจำเดือน พฤศจิกายน ปี 2561 จากหลากหลายธนาคาร เช่น ธ.กสิกรไทย ธ.ไทยพาณิชย์ ธ.กรุงเทพ ธ.กรุงไทย ธ.ออมสิน ธ.ทหารไทย ธ.กรุงศรีอยุธยา สำหรับผู้ที่กำลังสนใจกู้ซื้อบ้านและอสังหาริมทรัพทย์ เพื่อที่อยู่อาศัย ปลูกสร้างบ้าน รีไฟแนนซ์บ้าน และประกอบกิจการธุรกิจ ซึ่งอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อกู้ซื้อบ้าน MRR MLR MOR เป็นตัวแปรหลักที่มีผลต่อการคิดดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน  ซึ่งขึ้นอยู่ว่าแต่ละธนาคารจะกำหนดการให้สินเชื่อตามอัตราดอกเบี้ยบ้านในรูปแบบไหน โดยส่วนใหญ่ธนาคารมักเลือกรูปแบบ MRR เพราะ MRR จัดประเภทของผู้กู้รายย่อยอย่างเราให้อยู่ในประเภทผู้กู้รายย่อยชั้นดี แตกต่างจาก MLR ที่จะปล่อยสินเชื่อให้แก่ลูกค้าประเภทรายใหญ่ชั้นดี และ อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านก็มีการเปลี่ยนแปลงไม่คงที่ดังนั้นผู้ที่กำลังตัดสินใจเลือกซื้อที่อยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นเลือกซื้อบ้าน หรือ คอนโด นอกจากจะคิดคำนวณค่าใช้จ่าย ที่ต้องผ่อนชำระในแต่ละเดือนแล้ว ต้องหมั่นอัพเดทอัตราดอกเบี้ยเหล่านี้ ซึ่งอาจช่วยคุณประหยัดค่าใช้จ่ายได้อย่างไม่น่าเชื่อ

อัพเดทอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ บ้าน MRR MLR MOR

รวมเทคนิคการกู้ซื้อบ้านที่คนอยากมีบ้านต้องรู้

สำหรับผู้ที่ซื้อบ้านและผ่อนชำระดอกเบี้ยครบกำหนด 3 ปี ยังใช้เป็นแนวทางในการคำนวณหาอัตราดอกเบี้ยที่ถูกกว่า เพื่อทำการรีไฟแนนซ์บ้านได้ แต่ก่อนที่จะทำการรีไฟแนนซ์เพราะดอกเบี้ยการให้สินเชื่อที่ถูกกว่า ก็ควรคำนึงค่าใช้จ่ายอื่นเพื่อเตรียมพร้อมทำการรีไฟแนนซ์

ตารางอัพเดทดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อบ้าน MRR MLR MOR

ข้อมูลที่น่าสนใจ จากตารางอัพเดท เดือน พฤศจิกายน 2561 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกันยายน 2561 จะเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยทั้งหมดอยู่ในระดับคงที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

*จะเห็นได้ว่าธนาคารส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อบ้านที่ถูกกำหนดโดย ธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT) ไปในทิศทางเดียวกัน

ตัวอย่างการคำนวณอัตราดอกเบี้ย

ธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งเลือกอิงไปที่ MRR ซึ่งแบงค์ชาติกำหนดไว้ที่ 7% ในรายละเอียดของสินเชื่อระบุไว้ว่าผู้กู้จะต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราดังนี้: ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 5% ปีที่ 2 MRR-0.25% ปีที่ 3 MRR-0.25%

สมมติยอดเงินกู้ (principal) คือ 1 ล้านบาท จากอัตราดอกเบี้ยข้างต้น คุณจะต้องจ่ายดอกเบี้ยในปีที่ 1 = 1,000,000 x 5% = 50,000 บาท, ปีที่ 2=1,000,000 x 6.75% (MRR ซึ่งถูกกำหนดไว้ที่ 7% ลบด้วย 0.25%)=65,000 บาท, ปีที่ 3=1,000,000 x 6.75% (MRR ซึ่งถูกกำหนดไว้ที่ 7% ลบด้วย 0.25%)=65,000 บาท ดังนั้นยอดรวมดอกเบี้ย 3 ปี ที่คุณจะต้องชำระคือ 180,000 บาท

อัพเดทอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน กู้ซื้อบ้าน

อัพเดทประจำเดือน พฤศจิกายน ปี 2561 จากหลากหลายธนาคาร เช่น ธ.กสิกรไทย ธ.ไทยพาณิชย์ ธ.กรุงเทพ ธ.กรุงไทย ธ.ออมสิน ธ.ทหารไทย ธ.กรุงศรีอยุธยา มาเปรียบเทียบให้เห็นกันไปเลย ที่ไหนให้สินเชื่อกู้ซื้อบ้านคิดดอกเบี้ยต่ำสุด มีเงื่อนไขอะไรบ้างเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการพิจารณาเลือกสินเชื่อ

หลังจากมีการปรับอัตราดอกเบี้ยใหม่ในไตรมาสที่ 3 มาที่ เดือน พฤศจิกายน ธนาคารส่วนใหญ่ยังคงมีอัตราดอกเบี้ยคงที่เท่ากับเดือนที่แล้ว มีเพียง ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ที่มีการปรับอัตราดอกเบี้ยบางตัว ส่วน ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงเทพ และธนาคารออมสิน ยังคงมีทางเลือกของอัตราดอกเบี้ยที่หลากหลายขึ้น

อันดับที่ 1 อัตราดอกเบี้ยคงที่เฉลี่ยต่ำสุดตกเป็นของ ธนาคารกรุงเทพ (ฺฺBBL) ที่มีผลิตภัณฑ์และทางเลือกของอัตราดอกเบี้ยมากขึ้นจากไตรมาสที่แล้ว โดยมีอัตราดอกเบี้ยคงที่เฉลี่ย 3 ปีต่ำที่สุดอยู่ที่ 3.04% แต่มีเงื่อนไขในการขอสินเชื่อว่าผู้ขอต้องเป็นพนักงานประจำที่มีรายได้ตั้งแต่ 200,000 บาทขึ้นไป ส่วนพนักงานประจำที่มีเงินเดือนตั้งแต่ 50,000 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาทจะมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ที่ 3.91% โดยมีเงื่อนไขในการทำประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ

โดยอันดับที่ 2 ตกเป็นของ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ที่มีการปรับเปลี่ยนดอกเบี้ยบางตัวในเดือนพฤศจิกายน ทำให้มีอัตราดอกเบี้ยต่ำสุดอยู่ที่ 3.15% สำหรับ โครงการบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม และคอนโดมิเนียม 1 ล้านบาทขึ้นไป สำหรับกลุ่มอาชีพพิเศษ (แพทย์, สัตวแพทย์, ทันตแพทย์, เภสัชกร, ผู้พิพากษา และนักบินพาณิชย์) ส่วน บุคคลทั่วไป จะสามารถใช้อัตราดอกเบี้ยต่ำสุดที่ 3.15% เฉพาะคอนโดมิเนียม 1 ล้านบาทขึ้นไปเท่านั้น 

อันดับที่ 3 เป็นของ ธนาคารกสิกรไทย (Kbank) ที่มีการปรับอัตราดอกเบี้ยใหม่จากไตรมาสก่อน โดยแบ่งเป็นผลิตภัณฑ์การขอสินเชื่อ 2 รูปแบบ คือ สำหรับรายได้ประจำ ดอกเบี้ยพิเศษ 0.60% นาน 8 เดือน มีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ที่ 3.40% ส่วนสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการได้รับดอกเบี้ยพิเศษ 0.60% นาน 8 เดือน เช่นกัน โดยมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ที่ 3.90% โดยทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์และดอกเบี้ยดังกล่าวอยู่ในเงื่อนไขของการทำประกัน

ธนาคารทหารไทย (TMB) ยังครองอันดับที่ และใช้อัตราดอกเบี้ยเดิมจากเดือนที่แล้ว โดยมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีอยู่ที่ 3.50% แต่มีเงื่อนไขว่าโครงการที่กู้ซื้อนั้นต้องเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาฯ ที่ธนาคารกำหนด และต้องสมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริมทั้ง 3 ประเภท โดยบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่ ธนาคารทหารไทย (TMB) กำหนดประกอบไปด้วย โครงการบ้านและคอนโดฯ จากแสนสิริ, โครงการบ้านและคอนโดฯ จากอนันดาฯ และโครงการบ้านและคอนโดฯ จากเอพี (ไทยแลนด์) เป็นต้น (ทั้งนี้สามารถดูรายชื่อบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่กำหนดทั้งหมดของธนาคารทหารไทยได้ที่นี่)  ส่วนกรณีที่สมัครผลิตภัณฑ์เสริมไม่ครบทั้ง 3 ประเภท ธนาคารทหารไทยก็จะมีอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 3.99%

ส่วน อันดับที่ 5 ธนาคารออมสิน (GSB) ก็มีการปรับอัตราดอกเบี้ยใหม่เช่นกันจากไตรมาสก่อน โดยมีทางเลือกของผลิตภัณฑ์มากขึ้นและมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ที่ 4.08% กรณีผู้กู้ประสงค์ทำประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ

อันดับที่ 6 สำหรับกรณีการกู้ซื้อบ้านใหม่ของโครงการทั่วไปแบบไม่ได้ทำประกันหรือสมัครผลิตภัณฑ์เสริม ธนาคารที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุดคือ ธนาคารกรุงไทย (KTB) กับ สินเชื่อบ้านกรุงไทยผ่อนสบาย (ไม่ทำประกัน) โดยมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรกอยู่ที่ 4.20% เท่านั้น

ทั้งนี้เอง ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ก็มีอัตราดอกเบี้ยทางเลือกสำหรับโครงการทั่วไปที่น่าสนใจ โดยให้วงเงินกู้สูงสุดจากการประเมินถึง 100% ทั้ง โครงการทั่วไป และ บริษัทอสังหาฯ ที่ธนาคารกำหนด ซึ่งอัตราดอกเบี้ยของโครงการทั้ง 2 รูปแบบจะมีอัตราดอกเบี้ยของแต่ละโครงการไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับธนาคารจะกำหนด

*อัตราสินเชื่อบ้านโดยส่วนใหญ่จะเปลี่ยนแปลงไม่บ่อยมากนัก ประมาณ 1 ไตรมาสหรือครึ่งปีต่อครั้ง ทั้งนี้  อัพเดทตารางอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อ บ้าน – คอนโด ของธนาคารพาณิชย์ เดือน พฤศจิกายน 2561

*** อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน เฉลี่ย 3 ปีแรก คำนวณแบบค่าเฉลี่ยทางคณิตศาสตร์เท่านั้น***

สามารถดาวน์โหลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยในรูปแบบต่างๆ ของแต่ละธนาคาร และชมรายละเอียดเพิ่มเติม เช่น อัตราดอกเบี้ยรายปี วงเงินกู้ และข้อมูลอื่นๆ ได้ที่นี่: 

ข้อมูลที่น่าสนใจ ของธนาคารที่เสนออัตราดอกเบี้ยต่ำสุด 3 อันดับแรกในเดือนนี้ ได้แก่  ธนาคารกรุงศรี  ธนาคารกรุงเทพ และ ธนาคารกสิกรไทย โดยปล่อยวงเงินกู้สูงสุดถึง 90 – 100% ของราคาประเมิน นอกจากนั้นยังมีอีกหนึ่งธนาคารที่น่าสนใจ คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ ที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยของแต่ละโครงการไม่เท่ากัน ซึ่งบางโครงการอาจมีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า 3 อันดับแรกสำหรับธนาคารที่นำมาทั้งหมดในเดือนนี้ก็เป็นได้

ที่มาอัตราดอกเบี้ยต่ำสุดเฉลี่ย 3 ปี แรก*

ธนาคารกรุงเทพ กำหนดอัตราดอกเบี้ยสำหรับผู้ขอสินเชื่อประเภทพนักงานประจำที่มีรายได้ตั้งแต่ 200,000 บาทขึ้นไป โดยมีเงื่อนไขในการทำประกัน ปีที่ 1 = MRR-4.25%  ปีที่ 2 = MRR-4.% ปีที่ 3 = MRR-4.% ทำให้อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยอยู่ที่ 3.04%

– ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กำหนดอัตราดอกเบี้ยต่ำสุดสำหรับ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด   ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม และคอนโดมิเนียม 1 ล้านบาทขึ้นไป สำหรับกลุ่มอาชีพพิเศษ ได้แก่ แพทย์, สัตวแพทย์, ทันตแพทย์, เภสัชกร, ผู้พิพากษา และนักบินพาณิชย์ (ดอกเบี้ยคงที่ 0.5% ต่อปี นาน 1 ปี ฟรีค่าจดจำนอง) ปีที่ 1 = MRR-4.05% ปีที่ 2 = MRR-4.05% ปีที่ 3 = MRR-4.05% ทำให้อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี อยู่ที่ 3.15%

ธนาคารกสิกรไทย กำหนดอัตราดอกเบี้ยสำหรับผู้มีรายได้ประจำ ดอกเบี้ยพิเศษ 0.60% นาน 8 เดือน (ทำประกัน) เดือนที่ 1 – 8 = 0.60% เดือนที่ 9 -12 = MRR-4.20%  ปีที่ 2 = MRR-2.70% ปีที่ 3 = MRR-2.70% ทำให้อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยอยู่ที่ 3.40%

กรณีตัวอย่าง : ช้อัตราส่วนการผ่อนชำระเบื้องต้นที่ 1,000,000 : 7,000

หากกู้ซื้อบ้านในราคาประเมิน 2,000,000 บาท สามารคิดเป็นยอดชำระเริ่มต้นต่อเดือนจากวงเงินกู้ได้ที่ประมาณ 14,000 บาทต่อเดือน 

คำนวณเบื้องต้นจากธนาคารที่มีดอกเบี้ยเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ที่ 3.04%

กู้ซื้อบ้านกับธนาคารแห่งหนึ่งที่มีดอกเบี้ยเฉลี่ยทั้ง 3 ปีอยู่ที่ 3.04% โดยแบ่งชำระเป็นจำนวนเงิน 14,000 บาทต่อเดือน ตลอดระยะเวลา 3 ปี รวมเป็นยอดชำระทั้งหมด 504,000 บาท แบ่งเป็นเงินต้น 338,679.89 บาท และคิดเป็นดอกเบี้ย 165,320.11 บาท 

การคำนวณเงินต้นและดอกเบี้ยตามกรณีตัวอย่างด้านบนเป็นการคำนวณเบื้องต้น 3 ปีแรกเท่านั้น หากต้องการคำนวณการผ่อนสินเชื่อบ้านตลอดระยะเวลาการกู้

***ทั้งนี้การคำนวณดังกล่าวเป็นการคาดคะเน อัตราจริงขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร***

นอกจากอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารที่เราได้รวบรวมมาให้แล้ว เรายังมีเทคนิคเบื้องต้นในการเลือกสินเชื่อบ้านให้ได้ดอกเบี้ยต่ำและวงเงินกู้สูงมาแนะนำอีกด้วย

  1. บ้านโครงการใหม่หากคุณกำลังจะซื้อบ้านโครงการใหม่ หรือบ้านมือหนึ่ง ซึ่งเป็นการซื้อจากบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์โดยตรง ปัจจุบันหลายบริษัทฯ มีการทำความร่วมมือกับธนาคารเพื่อให้อัตราดอกเบี้ยต่ำพิเศษแก่ลูกค้าของบริษัท ดังนั้นจึงไม่ควรมองข้ามสินเชื่อที่ทางโครงการจัดให้ หรือสามารถสอบถามจากทางธนาคารโดยตรงก็ได้ครับว่าโครงการที่สนใจจะซื้อนั้นเป็นโครงการที่ธนาคารให้การสนับสนุนอยู่หรือไม่
  2. การซื้อทรัพย์สินธนาคาร NPAธนาคารที่เป็นเจ้าของทรัพย์สิน NPA นั้นมักจะมีอัตราดอกเบี้ยพิเศษไว้ให้ลูกค้าที่ซื้อทรัพย์สินธนาคาร สามารถสอบถามไปยังเจ้าหน้าที่สินเชื่อของธนาคารเจ้าของทรัพย์ได้ครับ
  3. หน่วยงานที่ทำงานบางธนาคารนั้นมีอัตราดอกเบี้ยพิเศษเพื่อพนักงานที่ทำงานในหน่วยงานนั้นโดยเฉพาะในลักษณะสวัสดิการต่างๆ มีทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จึงควรสอบถามแก่ทางฝ่ายทรัพยากรบุคคลว่ามีสวัสดิการเกี่ยวกับการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยไว้กับธนาคารใดหรือไม่ หรือสอบถามเพิ่มเติมกับธนาคารต่างๆ ก็ได้ นอกจากนี้บางธนาคารมีการจัดกลุ่มอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกันในบางธุรกิจ หรือขนาดบริษัทซึ่งเราทำงานอยู่ซึ่งสามารถสอบถามข้อมูลได้จากเจ้าหน้าที่สินเชื่อของแต่ละธนาคาร
  4. กลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพพิเศษเช่น แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร นักบินพาณิชย์ ผู้พิพากษา และอัยการ ธนาคารบางแห่งมีอัตราดอกเบี้ยพิเศษให้กับกลุ่มลูกค้านี้โดยเฉพาะ สามารถสอบถามได้จากเจ้าหน้าที่สินเชื่อของธนาคาร
  5. กลุ่มข้าราชการ ลูกจ้างของรัฐ พนักงานรัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่จะมีสวัสดิการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยกับธนาคารของภาครัฐ ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตร ควรสอบถามหน่วยงานต้นสังกัด หรือเจ้าหน้าที่สินเชื่อของธนาคารเหล่านี้ก่อน เพื่อใช้สิทธิประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ครับ
  6. ทำประกัน MRTA การทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อหรือ MRTA พร้อมกับการขอสินเชื่อนั้น ธนาคารมักจะมีส่วนลดอัตราดอกเบี้ยลงเล็กน้อย แต่จะมีเงื่อนไขว่าต้องทำประกันคุ้มครองเป็นสัดส่วนเท่าใดของวงเงินกู้ หรือระยะเวลานานเท่าใด จึงจะเข้าเงื่อนไขที่จะได้รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ ซึ่งเจ้าหน้าที่สินเชื่อของธนาคารจะสามารถให้รายละเอียดคุณได้ครับ

 

Leave a Reply